วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สรุปโครงการ

บันทึกภายใน

ส่วนของเจ้าของเรื่อง บริหารธุรกิจ
ที่ บธ 120/2550 วันที่ 15 สิงหาคม 2550
เรื่อง สรุปผลการดำเนินงานโครงการ “แบ่งปันรอยยิ้ม”
เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนผ่าน ที่ปรึกษาอาวุโส, อาจารย์ใหญ่, หัวหน้าคณะบริหารธุรกิจ
และหัวหน้าสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

เนื่องด้วยทางโรงเรียนได้ประชาสัมพันธ์ถึงการทำโครงการประชาสัมพันธ์เศรษฐกิพอเพียงตามพระราชดำริ และอาจารย์ที่ปรึกษาได้ประชาสัมพันธ์ ให้นักศึกษาห้อง คพ. 401 – 402 และ พค. 501 ได้ทราบและศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้จัดทำโครงการ และนักศึกษาได้เลือกทำโครงการแบ่งปันรอยยิ้มเพื่อสนองตอบประเด็นที่ 4 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในด้านสังคม คือการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้รักสามัคคี สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว และชุนชนเป็นหลัก และตามระบอบการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 เรื่อง แนวการจัดการศึกษา มาตรา 24 เรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ วรรค 6 ระบุไว้ว่า ให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชน ทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ จึงได้เริ่มจัดทำโครงการแบ่งปันรอยยิ้ม โดยมีวิธีการดำเนินงานดังนี้

วิธีการดำเนินงาน
จากโครงการประชาสัมพันธ์ เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ที่ปรึกษาได้ประชาสัมพันธ์แนวคิดให้กับนักศึกษา พร้อมกับประชุมนักศึกษาเพื่อนำเสนอกิจกรรมที่ นักศึกษาจะนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้นักศึกษาได้ลงมติว่าจะจัดทำกิจกรรมโดยการ บริจาคสิ่งของ ซึ่งมี อุปกรณ์กีฬา หนังสือ เสื้อผ้า การร่วมกันปลูกต้นไม้ พร้อมกับเลี้ยงอาหารกลางวัน โรงเรียนบ้านปางมะโอ ต.ปางมะโอ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง โดยจัดแบ่งหน้าที่กันดังนี้
1. นายนิพนธ์ ทิพย์สุรีย์ เป็นประธานโครงการ ได้จัดแบ่งหน้าที่ของสมาชิกแต่ละคน ติดต่อห้างร้านค้าต่าง ๆ ถึงราคาสิ่งของที่จำเป็นแก่การบริจาคเพื่อที่จะสามารถจัดงบประมาณที่จะนำไปซื้อของบริจาคให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านปางมะโอ พร้อมช่วยกันหาเงินบริจาคที่จะนำมาซื้ออุปกรณ์กีฬา และอาหารกลางวัน โดยได้รับการบริจาค การผู้บริหารโรงเรียนคณาจารย์ในแผนก นักศึกษาบริหารธุรกิจ และนักศึกษาในห้อง พค. 401 - 402 และ พค. 501 ได้จัดเก็บเงินคนละ 100 บาท ทั้งนี้ยังได้รับ สมุด ไม้บรรทัด ร่ม และของที่ระลึก จากทางโรงเรียนลำปางเทคโนโลยี เงินสนับสนุนจากห้างร้านต่าง ๆ หน่วยงานที่นักศึกษาได้ทำการเข้ารับการฝึกงานช่วงระยะเวลาปิดเทอม และได้รับเงินบริจาค ยอมรวมทั้งหมด 10,000 บาท
2. คณะกรรมการนักศึกษาแผนกบริหารธุรกิจ ประกอบด้วย นายขจรศักดิ์ แก้วกัลยา นายบูชิต สิงห์เกิด นายกฤษดา เหล็กดี ฝ่ายติดต่อประสานงานระหว่างโรงเรียนบ้านปางมะโอ กับกลุ่มงานต่างๆ ของโครงการ
3. อุปกรณ์กีฬา คือ ไม้แบ็ตบินตัน, ลูกขนไก่, ไม้ปิงปอง, ลูกปิงปอง, เชือกกระโดด, เน็ทปิงปอง, ชุดเปตองสำหรับเด็กประถม (ปาตอง), ถาดข้าวสำหรับเด็ก, แก้วน้ำ, ช้อน, ขนม, น้ำแฮลลูบอย, น้ำดื่ม, น้ำแข็ง, ผลไม้, โดยมี นางสาวยุภาพร คำบุตร, นายศุภวิชย์ กันธิยะ, นายบูชิต สิงห์เกิด และสมาชิกได้ร่วมกันจัดซื้อ และผลไม้รวม รับผิดชอบโดยนางสาวสุภาพร ฤทธิไกรนายชัยยาธัช ภาคภูวกานต์และ นายขจรศักดิ์ แก้วกัลยา รวมทั้งหมด 7,000 บาท
4. อาหาร ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองของ นางสาวดรุณี พิลาวุฒิ ได้จัดทำอาหารกลางวันคือ ขนมจีน+แกงเขียวหวาน 1,700 บาท 5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 1,000 บาท
6. ส่วนหนังสือเสื้อผ้าได้รับบริจาคจากคณาจารย์ในแผนกและเพื่อนๆ นักศึกษาในแผนก ทั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก ผู้ปกครองของนักศึกษา และหน่วยงานราชการบางส่วน
โครงการได้เริ่มจัดทำในวันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2550 ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านผู้อำนวยการเรื่องรถ 6 ล้อ และจัดคนขับรถเพื่อบริการขับรถทั้งไปและกลับ นักศึกษารวมกันที่โรงเรียนเวลา 07.00 น. ก่อนออกเดินทาง ได้ทำกิจกรรมโดยไหว้พระประธาน ไหว้พระวิษณุ และฟังคำชี้แจงจาก อาจารย์รักษ์ เจียศิริพงษ์กุล ถึงจุดประสงค์ของโครงการ ออกเดินทางเวลา 09.00 น. ถึงโรงเรียนดินไชยประมาณ 10.00 น. โดยได้รับการต้อนรับจากคณะครูนักเรียนโรงเรียนบ้านปางมะโอ คณะกรรมการหมู่บ้านและผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านปางมะโอ จากนั้นนายนิพนธ์ ทิพย์สุรีย์ กล่าวถึงจุดประสงค์ของโครงการ โดยมีคณะกรรมการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ 2 ชุด คือ ชุดแรก น.ส. ดรุณี พิลาวุฒิ และคณะ รับผิดชอบเรื่องอาหารกลางวัน ชุดที่สอง นาย พร้อมพงศ์ ขันอ้าย และคณะ กิจกรรมปลูกต้นไม้ จากนั้นเวลา 10.30 น. คณะนักศึกษาของโรงเรียนลำปาง และเทคโนโลยี และคณะครูอาจารย์และนักศึกษาของโรงเรียนบ้านปางมะโอ ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้จำนวน 60 ต้น ประธานโครงการมอบ อุปกรณ์กีฬา หนังสือ ให้กับห้องสมุดโรงเรียน และคณะกรรมการอีกส่วนหนึ่งจัดเตรียมอาหาร น้ำ และผลไม้เพื่อจัดเลี้ยงอาหารกลางวัน หลังจากนั้นเลี้ยงอาหารกลางวัน จากนั้นคณะของผู้ใหญ่บ้านและกรรมการของหมู่บ้านปางมะโอ ได้นำไปเยี่ยมชมการทำไร่ทำสวน ทำเพาะเมล็ดกาแฟ และการเพาะเห็ดหอม อันเป็นสินค้าที่นำรายได้เข้าสู่ชุมชนบ้านปางมะโอ เวลา ต่อมาประมาณ 13.00 ทางผู้อำนวยการของโรงเรียนบ้านปางมะโอได้กล่าวขอบคุณคณะอาจารย์และนักศึกษาของโรงเรียนลำปางเทคโนโลยี พร้อมมอบของที่ระลึก ทำให้นักเรียนได้มีความสุขอย่างมากและมีความภาคภูมิใจกับโครงการก่อนจบการศึกษาในปีนี้ ซึ่งอยากที่จะให้มีการทำโครงการนี้ต่อเนื่อง สำหรับนักศึกษารุ่นที่จะมารับงานต่อ
จากจุดประสงค์ของโครงการ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในด้านสังคมช่วยเหลือเกื้อกูลกัน/รู้รักสามัคคี/สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชนเป็นหลัก
ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา (ด้านสังคม)
หลักการปฏิบัติ
ตัวอย่างกิจกรรม
รู้จักช่วยเหลือสังคมหรือชุมชน
- ปลูกจิตสำนึกสาธารณะ
- ปลูกฝังความสามัคคี
- ปลูกฝังความเสียสละ
- เผยแพร่องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง
พัฒนาความรู้คุณธรรมฝ่ายกิจกรรมรวมกลุ่มต่างๆ
- จัดกิจกรรม ลด ละ เลิก อบายมุข
- จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
- จัดค่ายพัฒนาเยาวชน
- จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภายในชุมชน

ผลการดำเนินงาน
นักศึกษามีความสามัคคีกันและรู้จักแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งแต่ละกลุ่มงานก็ทำงานได้ดี ได้รับคำชมจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการและอาจารย์ผู้ที่ร่วมทุกท่าน ทุกความสุข และความรู้สึก ที่ดี ๆ ทั้งคนให้โดยไม่หวังผลตอบแทน และคนรับ เป็นภาพที่น่ารักและอยู่ในใจของสมาชิกโครงการทุกคน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการต่อเนื่องของปี ต่อ ๆ ไป และ ทุกความรู้สึกดี ๆ อิ่มบุญกันในครั้งนี้ บันทึกภาพวีดีโอโดยอาจารย์มัลลิกา ฝั้นเต็ม และภาพถ่ายโดยนักศึกษาผู้ร่วมโครงการ ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ปัญหาและอุปสรรค์
1. ระยะเวลาทำกิจกรรมมีอยู่อย่างจำกัดและน้อยเกินไป
2. นักศึกษามีงานและหน้าที่ความรับผิดชอบทางการเรียนมีมาก จึงทำให้การนัดหมายการประชุมต้องทำการเลื่อนการประชุมอยู่บ่อยครั้ง
3. การประชาสัมพันธ์น้อยเกินไป
4. เวลานัดหมายวันกิจกรรมเกิดการคลาดเคลื่อน เนื่องจากรถในการขนย้ายสิ่งของมายังจุดนัดหมายมีเพียงคันเดียว ทำให้การขนย้ายต้องทำกันหลายเที่ยว

แนวทางแก้ไข
1. เพิ่มระยะเวลาการดำเนินงานกิจกรรม
2. ทำการนัดเวลาโดยใช้ช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์ และคาบโฮมรูม เป็นช่วงเวลาในการประชุมวางแผนงาน และแบ่งหน้าที่การทำงาน
3. การประชาสัมพันธ์โครงการต้องใช้ระยะเวลาให้มากกว่านี้
4. การวางแผนในการนัดหมาย ต้องมีความละเอียดรอบคอบ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไว้ก่อน

โครงการแบ่งปันรอยยิ้ม
ณ โรงเรียนดอนไชย อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
วันเสาร์ ที่ 6 มกราคม 2550
คณะอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการ
1. อาจารย์เดือนรุ่ง ทองสอน
2. อาจารย์จิรายุ บุญมาปลูก
3. อาจารย์จันทร์เพ็ญ ศรีกำเนิด
4. อาจารย์รักษ์ เจียศิริพงษ์กุล
5. อาจารย์มัลลิกา ฝั้นเต็ม
6. อาจารย์อานุภาพ จรเทพนักศึกษา ห้อง คพ. 401 – 402 และ พค. 501จำนวนทั้งหมด 34 คน

บันทึกภายในของโครงการ

บันทึกภายใน
ส่วนของเจ้าของเรื่อง คณะบริหารธุรกิจ
ที่ บธ /2550 วันที่ 19 กรกฎาคม 2550
เรื่อง ขออนุญาตจัดงาน บายสีสู่ขวัญ
เรียน ผู้อำนวยการ ผ่านผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา ผ่านอาจารย์ใหญ่ ผ่านหัวหน้าภาควิชาคณะบริหารธุรกิจ ผ่านหัวหน้าแผนกบริหารธุรกิจ

ในปีการศึกษา 2550 แผนกบริหารธุรกิจได้จัดงานบายสีสู่ขวัญให้กับนักศึกษาแผนกบริหารธุรกิจระดับชั้น ปวช.1 และ ปวส.1 ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 เวลา 08.00 – 10.00 น. ณ อาคารออดิโทรเลี่ยม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา และได้เรียนรู้ที่จะสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อสังคม
ทั้งนี้งบประมาณในการดำเนินงานในส่วนอื่น ๆ ทางแผนกจะเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด

จึงเรียนมาเพื่อทราบและพิจารณาอนุมัติ

........................................................................
........................................................................
ลงชื่อ...............................................................
(นายรักษ์ เจียศิริพงษ์กุล)
หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมแผนกบริหารธุรกิจ

........................................................................
........................................................................
ลงชื่อ...............................................................
(นางสาวประยูร เตจะโน)
หัวหน้าแผนกบริหารธุรกิจ

........................................................................
........................................................................
ลงชื่อ...............................................................
(อาจารย์ยงยุทธ เปรมประสิทธิ)
ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายกิจกรรม
........................................................................
........................................................................
ลงชื่อ...............................................................
(ดร.จินดารัตน์ มงคลเจริญสุข)
หัวหน้าภาควิชาคณะแผนกบริหารธุรกิจ

........................................................................
........................................................................
ลงชื่อ...............................................................
(นายสุขสวัสดิ์ กรีสวัสดิ์)
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา


........................................................................
........................................................................
ลงชื่อ...............................................................
(ดร.พรสันต์ เลิศวิทยาวิวัฒน์)
อาจารย์ใหญ่

ตัวโครงการ


ชื่อโครงการ แบ่งปันรอยยิ้ม
แผนงาน กิจกรรม
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. นักศึกษาห้อง คพ.501- 502 พค.501
2. อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
3. อาจารย์ฝ่ายกิจกรรมแผนก
ลักษณะโครงการ ต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินการ ภาคเรียนที่ 1/2550
สนับสนุนเกณฑ์
สอศ. ข้อกำหนดที่ 3.2
พระราชทานด้านที่ 2.4 ข้อที่ 2.4.2
สมศ. มาตรฐานที่ 3 ข้อที่ 3.10
แผนกยุทธศาสตร์โรงเรียน เป้าหมายที่ 1 ข้อที่ 1.18
หลักการและเหตุผล
โครงการแบ่งปันรอยยิ้มจัดทำขึ้นเพื่อสนองนโยบายการประชาสัมพันธ์โครงการพระราชดำริในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านสังคม ต้องการปลูกจิตสำนึกที่ดี ความสามัคคี ความเสียสละ ช่วยเหลือสังคม ชุมชน รู้จักการให้ และ แบ่งปันตามกำลังของตนเอง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาเป็นรู้จักให้และแบ่งปัน
2. เพื่อช่วยเหลือสังคม
3. เพื่อความสามัคคีของนักศึกษาและอาจารย์
4. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถาบันและชุมชน
5. เพื่อปลูกจิตสำนึกในการเสียสละ
เป้าหมาย
ด้านปริมาณ นักศึกษาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปวส.2 จำนวน 38 คน
ด้านคุณภาพ นักศึกษาสามารถช่วยเหลือสังคมตามกำลัง
ขั้นตอนการดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ
1. จัดเตรียมสำรวจความต้องการของนักเรียน กรกฏาคม 2550
2. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ สิงหาคม 2550
3. ประสานงานกับโรงเรียนปางมะโอ สิงหาคม 2550
ขั้นดำเนินงาน
1. ปฐมนิเทศนักศึกษาเกี่ยวกับการบริจาคสิ่งของนอกสถานที่ สิงหาคม 2550
2. บริจาคสิ่งของ เครื่องใช้ เลี้ยงอาหารกลางวัน กันยายน 2550
ขั้นสรุปและประเมินผล
1. แบบประเมิน กันยายน 2550
2. รวบรวมประมวลผล กันยายน 2550
3. สรุปรายงานต่อผู้บริหาร กันยายน 2550
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านปางมะโอ
งบประมาณ เก็บจากนักศึกษาคนละ 100 บาท จำนวน 33 คน คณะอาจารย์คนละ 200 บาท
การประเมินโครงงาน
1. การสังเกต
2. บันทึกผลการทำงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักศึกษามีความสามารถในด้านการติดต่อประสานงานกับสถานประกอบการได้เป็นอย่างดี
2. นักศึกษานำประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคมอนาคตได้
3. นักศึกษามีจิตสำนึกและประทับใจในการทำกิจกรรมครั้งนี้
4. เป็นแบบแผนในการจัดทำกิจกรรมในรูปแบบนี้ต่อไปในปีต่อ ๆ ไป

จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ลงชื่อ.........................................
(นายนิพนธ์ ทิพย์สุรีย์)
ผู้รับผิดชอบโครงการ

ลงชื่อ………………………….
(นางจิรายุ บุญมาปลูก)
ที่ปรึกษาโครงการ

ลงชื่อ…………………………
(นางสาวจันทร์เพ็ญ ศรีกำเนิด)
ที่ปรึกษาโครงการ

ลงชื่อ…………………………
(นายรักษ์ เจียศิริพงษ์กุล)
ที่ปรึกษาโครงการ

ลงชื่อ…………………………
(นายอานุภาพ จรเทศ)
ที่ปรึกษาโครงการ

ลงชื่อ…………………………
(นายกานต์ บุพพัณหสมัย)
ที่ปรึกษาโครงการ

ลงชื่อ…………………………
(นางสาวมัลลิกา ฝั้นเต็ม)
ที่ปรึกษาโครงการ

ภาพแห่งรอยยิ้ม

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

โครงการแบ่งปันรอยยิ้ม

"โครงการแบ่งปันรอยยิ้ม"
โครงการแบ่งปันรอยยิ้มเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยกลุ่มนักศึกษาของโรงเรียนลำปางเทคโนโลยี (LAMP-TECH) แผนกบริหารธุรกิจ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ห้อง 1 โดยมีอาจารย์จิรายุ บุญมาปลูก เป็นที่ปรึกษาโครงการ และมีอาจารย์ที่คอยประสานงานหลายท่าน ดังนี้ อาจารย์จันทร์เพ็ญ ศรีกำเนิด อาจารย์รักษ์ เจียรศิริวงค์กุล
จุดประสงค์ของโครงการ
  1. เพื่อช่วยเหลือทางด้านสิ่งของจำเป็นแก่โรงเรียนที่ห่างไกลตัวเมือง
  2. เพื่อปลูกจิตสำนึก ให้ตระหนักให้รู้ถึงความหมายว่า "ให้คืออะไร"
  3. เพื่อปลูกจิตสำนึกให้กลุ่มนักศึกษาได้รู้รัก สามัคคี
  4. เพื่อปลูกจิตสำนึกในหน้าที่ของตนเอง การทำงานระหว่างหน่วยงาน